ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ราชประเพณีคู่เมืองสยามมาแต่โบราณ
เผยความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ราชประเพณีคู่เมืองสยามมาแต่โบราณ ได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด และเหตุใดแต่ละรัชสมัยถึงเรียกพิธีแตกต่างกัน
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย แต่ลักษณะพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกว่า "พระราชพิธีราชาภิเษก" หรือ "พิธีราชาภิเษก" ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"
ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่
2 หรือจารึกวัดศรีชุม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่
18 กล่าวถึงการขึ้นเป็นผู้นำของพ่อขุนบางกลางหาว ไว้ว่า
"พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้เมืองสุโขทัย
ให้ทั้งชื่อตนแก่พระสหายเรียกชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์"
ส่วนในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทยและภาษาเขมร กล่าวถึงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ว่ามี มกุฎ พระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร
ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในคำให้การของชาวกรุงเก่า
ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงขั้นตอนของพระราชพิธีนี้ว่า
"พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงโปรดให้เอาไม้มะเดื่อนั้น
มาทำตั่งสำหรับประทับสรงพระกระยาสนานในการมงคล เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เป็นต้น
พระองค์ย่อมประทับเหนือพระที่นั่งตั่งไม้มะเดื่อ สรงพระกระยาสนานก่อนแล้ว (จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ) มุขอำมาตย์ถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ มหามงกุฎ 1 พระแสงขรรค์ 1 พัดวาลวิชนี 1 ธารพระกร 1 ฉลองพระบาทคู่ 1"
สมัยกรุงธนบุรี
ไม่ปรากฏหลักฐานการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สันนิษฐานว่าทำตามแบบอย่างเมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ทำอย่างสังเขป เพราะบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย ยังอยู่ในภาวะสงคราม
- พ.ศ. 2325
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์
และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป
ยังไม่พร้อมมูล เต็มตำรา
- พ.ศ. 2326 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการผู้รู้ครั้งกรุงเก่า มีเจ้าพระยาเพชรพิชัยเป็นประธาน ประชุมปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทำการสอบสวนร่วมกันตรวจสอบตำราว่าด้วยการราชาภิเษกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือขุนหลวงวัดประดู่ แล้วแต่งเรียบเรียงขึ้นไว้เป็นตำรา เรียกว่า "ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยาสำหรับหอหลวง" เป็นตำราที่เกี่ยวกับการราชาภิเษกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบหลักฐานในประเทศไทย
เมื่อได้แบบแผนการราชาภิเษกที่สมบูรณ์แล้ว อีกทั้งพระราชมณเฑียรสถานที่สร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2328 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้สมบูรณ์ตามแบบแผนอันได้เคยมีมาแต่เก่าก่อนอีกครั้งหนึ่ง และแบบแผนการราชาภิเษกดังกล่าว ได้รับการยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างสืบมาเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์
ทั้งนี้ สมัยรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 เมื่อทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมชนกนาถ ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา ในระยะเวลาห้าปีแรกของรัชกาล สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนกระทั่งเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา จึงทรงผนวช หลังจากทรงลาสิกขาแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416 หลังจากนั้นทรงรับพระราชภาระ และมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
![พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]()
![พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]()
![พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]()
![พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]()

ภาพจาก m-culture.go.th
สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562
เป็นวันสำคัญที่ปวงชนชาวไทยทุกคนต่างรอคอย ทั้งนี้
กระปุกดอทคอมได้นำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ราชประเพณีคู่เมืองสยามมาแต่โบราณ
ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด
และแต่ละรัชสมัยมีการเรียกพิธีเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย แต่ลักษณะพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกว่า "พระราชพิธีราชาภิเษก" หรือ "พิธีราชาภิเษก" ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"
สมัยสุโขทัย
ภาพจาก m-culture.go.th
ส่วนในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทยและภาษาเขมร กล่าวถึงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ว่ามี มกุฎ พระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร
สมัยอยุธยา

ภาพจาก m-culture.go.th
พระองค์ย่อมประทับเหนือพระที่นั่งตั่งไม้มะเดื่อ สรงพระกระยาสนานก่อนแล้ว (จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ) มุขอำมาตย์ถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ มหามงกุฎ 1 พระแสงขรรค์ 1 พัดวาลวิชนี 1 ธารพระกร 1 ฉลองพระบาทคู่ 1"
สมัยกรุงธนบุรี
ไม่ปรากฏหลักฐานการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สันนิษฐานว่าทำตามแบบอย่างเมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ทำอย่างสังเขป เพราะบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย ยังอยู่ในภาวะสงคราม
สมัยรัตนโกสินทร์

ภาพจาก m-culture.go.th
- พ.ศ. 2326 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการผู้รู้ครั้งกรุงเก่า มีเจ้าพระยาเพชรพิชัยเป็นประธาน ประชุมปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทำการสอบสวนร่วมกันตรวจสอบตำราว่าด้วยการราชาภิเษกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือขุนหลวงวัดประดู่ แล้วแต่งเรียบเรียงขึ้นไว้เป็นตำรา เรียกว่า "ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยาสำหรับหอหลวง" เป็นตำราที่เกี่ยวกับการราชาภิเษกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบหลักฐานในประเทศไทย
เมื่อได้แบบแผนการราชาภิเษกที่สมบูรณ์แล้ว อีกทั้งพระราชมณเฑียรสถานที่สร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2328 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้สมบูรณ์ตามแบบแผนอันได้เคยมีมาแต่เก่าก่อนอีกครั้งหนึ่ง และแบบแผนการราชาภิเษกดังกล่าว ได้รับการยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างสืบมาเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์
ทั้งนี้ สมัยรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 เมื่อทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมชนกนาถ ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา ในระยะเวลาห้าปีแรกของรัชกาล สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนกระทั่งเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา จึงทรงผนวช หลังจากทรงลาสิกขาแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416 หลังจากนั้นทรงรับพระราชภาระ และมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง คือ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน
พุทธศักราช 2453
เนื่องจากอยู่ในช่วงกำลังไว้ทุกข์งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดให้งดการเสด็จเลียบพระนครและการรื่นเริง
ต่อมาเมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พุทธศักราช
2454 เพื่อให้เป็นส่วนรื่นเริงสำหรับประเทศ
อีกทั้งให้นานาประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรไมตรีมีโอกาสมาร่วมงาน

ภาพจาก m-culture.go.th

ภาพจาก m-culture.go.th

ภาพจาก m-culture.go.th

ภาพจาก m-culture.go.th
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก