ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และการออกพระนามพระมหากษัตริย์
ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามหนังสือจดหมายเหตุ และเกร็ดความรู้เรื่องการออกพระนามพระมหากษัตริย์ ก่อนและหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
![ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และการออกพระนามพระมหากษัตริย์ ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และการออกพระนามพระมหากษัตริย์]()
ทำให้ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเห็นพร้อมกันว่า ให้เปลี่ยนคำออกพระนามพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นจาก "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน" เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2453 และถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ว่าให้ออกพระนามพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับบรมราชาภิเษกว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ช่วงเวลาประมาณ 10.00 - 12.00 น. เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด คือ เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และภายหลังพระราชพิธีสรงพระมุรธาภิเษกและสวมพระมหาพิชัยมงกุฎเสร็จสิ้น จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ จากนั้นให้พสกนิกรเรียกว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" โดยไม่ต้องตามด้วยพระนามท่าน และหลังจากนั้นการกราบบังคมทูลอะไรก็จะเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน

ภาพจาก เว็บไซต์ phralan.in.th
ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 เป็นวันสำคัญที่ปวงชนชาวไทยทุกคนต่างรอคอย ทั้งนี้ กระปุกดอทคอมได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามหนังสือจดหมายเหตุ และการออกพระนามพระมหากษัตริย์ ก่อนและหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มาฝากกัน ดังต่อไปนี้...
ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
หนังสือจดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-รา-มา-ทิบ-บอ-ดี-สี-สิน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-วุด พระ-มง-กุด-เกฺล้า-เจ้า-หยู่-หัว) กล่าวถึงความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไว้ว่า...
ถือเป็นตำรามาแต่โบราณว่า พระมหากระษัตริย์ซึ่งเสด็จผ่านพิภพ ต้องทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะเปนพระราชาธิบดีโดยสมบูรณ์ ถ้ายังมิได้ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ถึงจะทรงรับรัชทายาท เมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ก็เสด็จอยู่เพียง ณ ที่พักแห่งหนึ่ง พระนามที่ขานก็คงใช้พระนามเดิม แต่เพิ่มคำว่า "ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน" เข้าข้างท้ายพระนาม และคำรับสั่งก็ยังไม่ใช้พระราชโองการ จนกว่าจะได้สรงมุรธาภิเษก
รวมถึงทรงรับพระสุพรรณบัฏจารึกพระบรมราชนามาภิธัย กับทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ (เครื่อง-ราด-ชะ-กะ-กุด-ทะ-พัน) จากพระมหาราชครูพราหมณ์ผู้ทำพิธีราชาภิเษกแล้ว จึงเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร ครอบครองสิริราชสมบัติสมบูรณ์ ด้วยพระเกียรติยศแห่งพระราชามหากระษัตริย์แต่นั้นไป
ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
หนังสือจดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-รา-มา-ทิบ-บอ-ดี-สี-สิน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-วุด พระ-มง-กุด-เกฺล้า-เจ้า-หยู่-หัว) กล่าวถึงความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไว้ว่า...
ถือเป็นตำรามาแต่โบราณว่า พระมหากระษัตริย์ซึ่งเสด็จผ่านพิภพ ต้องทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะเปนพระราชาธิบดีโดยสมบูรณ์ ถ้ายังมิได้ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ถึงจะทรงรับรัชทายาท เมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ก็เสด็จอยู่เพียง ณ ที่พักแห่งหนึ่ง พระนามที่ขานก็คงใช้พระนามเดิม แต่เพิ่มคำว่า "ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน" เข้าข้างท้ายพระนาม และคำรับสั่งก็ยังไม่ใช้พระราชโองการ จนกว่าจะได้สรงมุรธาภิเษก
รวมถึงทรงรับพระสุพรรณบัฏจารึกพระบรมราชนามาภิธัย กับทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ (เครื่อง-ราด-ชะ-กะ-กุด-ทะ-พัน) จากพระมหาราชครูพราหมณ์ผู้ทำพิธีราชาภิเษกแล้ว จึงเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร ครอบครองสิริราชสมบัติสมบูรณ์ ด้วยพระเกียรติยศแห่งพระราชามหากระษัตริย์แต่นั้นไป
การออกพระนามพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ถือเป็นธรรมเนียมว่าพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษกนั้น จะออกพระนามเดิมและต่อท้ายด้วยคำว่า "ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน"
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พบหลักฐานในหนังสือแสดงกิจจานุกิจของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สวรรคตแล้ว ได้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร" ทันที มิได้รอไว้จนทรงรับบรมราชาภิเษก
ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ถือเป็นธรรมเนียมว่าพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษกนั้น จะออกพระนามเดิมและต่อท้ายด้วยคำว่า "ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน"
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พบหลักฐานในหนังสือแสดงกิจจานุกิจของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สวรรคตแล้ว ได้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร" ทันที มิได้รอไว้จนทรงรับบรมราชาภิเษก
ทำให้ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเห็นพร้อมกันว่า ให้เปลี่ยนคำออกพระนามพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นจาก "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน" เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2453 และถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ว่าให้ออกพระนามพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับบรมราชาภิเษกว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ช่วงเวลาประมาณ 10.00 - 12.00 น. เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด คือ เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และภายหลังพระราชพิธีสรงพระมุรธาภิเษกและสวมพระมหาพิชัยมงกุฎเสร็จสิ้น จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ จากนั้นให้พสกนิกรเรียกว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" โดยไม่ต้องตามด้วยพระนามท่าน และหลังจากนั้นการกราบบังคมทูลอะไรก็จะเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน