แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 108 แห่งทั่วไทย สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562
เปิดเผยรายชื่อแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย ที่ใช้สำหรับการเตรียมน้ำอภิเษกและน้ำสรงพระมุรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 พร้อมทั้งรายชื่อสระศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 สระ และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 สาย
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ถือว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่และทรงคุณค่าต่อปวงชนชาวไทยในปีนี้ ด้วยเป็นพระราชพิธีสำคัญที่จะสถาปนาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 ของแผ่นดินสยามโดยสมบูรณ์ ซึ่งหนึ่งในสิ่งสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็คือ การทรงรับน้ำอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ โดยน้ำอภิเษกนี้จะต้องนำมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย พร้อมทั้งยังมีน้ำสรงพระมุรธาภิเษกที่มาจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 สระ และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 สายของไทยด้วย โดยกระทรวงมหาดไทยได้เปิดเผยรายชื่อของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ สระสักดิ์สิทธิ์ และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์มาแล้ว มีรายชื่อดังต่อไปนี้
![แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย]()
น้ำอภิเษก
คือ น้ำที่จะนำมารดที่พระหัตถ์ เพื่อเป็นการยอมรับผู้ที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ตามพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งนำมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมจำนวน 108 แหล่งน้ำ แบ่งเป็น
1. กรุงเทพมหานคร ณ หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง
2. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 1 แห่ง 60 จังหวัด ได้แก่
+ วังเทวดา จังหวัดกระบี่
+ บ่อสามแสน จังหวัดกำแพงเพชร
+ ดอยขะม้อ บ่อน้ำทิพย์ จังหวัดลำพูน
+ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระอุโบสถวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
+ บ่อน้ำทิพย์ จังหวัดเชียงราย
+ น้ำภายในพระเศียรหลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์ และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
+ น้ำจากถ้ำเพียงดิน จังหวัดเลย
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดกวิศรารามราชวรวิหาร จังหวัดลพบุรี
+ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี
+ สระสองห้อง จังหวัดพิษณุโลก
+ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
+ แม่น้ำน่าน บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือบ่อน้ำเลี้ยงพระนางจามเทวี จังหวัดลำปาง
+ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร จังหวัดชัยนาท
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดสวนตาล จังหวัดน่าน
+ บ่อน้ำทิพย์ จังหวัดอุตรดิตถ์
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดไชยธาราราม จังหวัดภูเก็ต
+ บ่อน้ำพุร้อนทุ่งนุ้ย จังหวัดสตูล
+ แม่น้ำตรัง บริเวณหน้าท่าน้ำวัดประสิทธิชัย จังหวัดตรัง
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดแหลมบ่อท่อ จังหวัดสงขลา
+ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์พระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
+ สระแก้ว สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดยะลา
+ ปากน้ำโจ้โล้ จังหวัดฉะเชิงเทรา
+ สระแก้ว-สระขวัญ จังหวัดสระแก้ว
+ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
+ สระโบราณ โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
+ บ่อน้ำโจ้ก จังหวัดอุบลราชธานี
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ปราสาทสระกำแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
+ สระน้ำจันทร์หรือสระบัว จังหวัดนครปฐม
+ สระโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี
+ กุดน้ำกิน จังหวัดกาฬสินธุ์
+ สระมุจลินท์ หรือสระพญานาค จังหวัดหนองคาย
+ ท่าคำทอง จังหวัดยโสธร
+ ต้นน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (บาราย) วัดกู่ประภาชัย จังหวัดขอนแก่น
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี
+ แม่น้ำป่าสัก บริเวณบ้านท่าราบ จังหวัดสระบุรี
+ น้ำตกศักดิ์สิทธิ์ เขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน น้ำตกแก้งช้างเนียม จังหวัดมุกดาหาร
+ สระน้ำมูรธาภิเษก หรือบ่อน้ำพระอินทร์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม
+ อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ภูน้ำลอด จังหวัดสกลนคร
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือหนองดูน จังหวัดมหาสารคาม
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดศรีคูณเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
+ สระชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด
+ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี
+ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าองค์พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
+ สระเจ้าคุณเฒ่า จังหวัดชลบุรี
+ น้ำตกธารมะยม จังหวัดตราด
+ วัดสามพญา จังหวัดระยอง
+ สามประสบ จังหวัดกาญจนบุรี
+ อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
+ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จังหวัดนนทบุรี
+ ถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
+ บ่อน้ำทิพย์ถ้ำเขาพลู จังหวัดชุมพร
+ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ถ้ำเขาม้าร้อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
+ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์คลองดาวดึงษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม
+ บ่อน้ำสักดิ์สิทธิ์ ถ้ำน้ำผุด จังหวัดพังงา
+ แหล่งน้ำคลองดำเนินสะดวก จังหวัดสมุทรสาคร
+ ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ จังหวัดเพชรบุรี
![แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย]()
3. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2 แห่ง 7 จังหวัด
+ สระแก้ว และสระขวัญ จังหวัดเพชรบูรณ์
+ ขุนน้ำแม่ปืม และน้ำตกคะหรือน้ำคะ จังหวัดพะเยา
+ น้ำแบ่ง และน้ำตกสิรินธร จังหวัดนราธิวาส
+ บ่อน้ำหน้าโบราณสถานรอยพระพุทธบาทคู่ และโบราณสถานสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
+ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ถ้ำพระ จังหวัดบึงกาฬ
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดไพรีพินาศ และชีผุด แม่น้ำชี จังหวัดชัยภูมิ
+ แม่น้ำสะแกกรัง และสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม จังหวัดอุทัยธานี
4. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 3 แห่ง 5 จังหวัด
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดบุพพาราม, อ่างกาหลวง และขุนน้ำแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
+ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดดอนศาลา, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พระบรมธาตุเขียนบางแก้ว และถ้ำน้ำบนหุบเขาชัยบุรี จังหวัดพัทลุง
+ เขื่อนขุนด่านปราการชล, บ่อน้ำทิพย์ เมืองโบราณดงละคร และบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก
+ สระแก้ว, ธารนารายณ์ และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดพลับ จังหวัดจันทบุรี
+ บ่อแก้ว, บ่อทอง และตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย
5. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 4 แห่ง 3 จังหวัด
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ลำน้ำแม่คำมี, บ่อน้ำวัดบ้านนันทาราม, บ่อน้ำพระฤาษี และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดพระหลวง จังหวัดแพร่
+ บ่อทอง หรือบ่อช่างขุด, บ่อไชย, น้ำบ่อฤษี และน้ำสระวังพลายบัว จังหวัดปัตตานี
+ สระแก้ว สระคา สระเกษ และสระยมนา จังหวัดสุพรรณบุรี
6. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 6 แหล่งน้ำ 1 จังหวัด
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดหน้าพระลาน, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดเสมาเมือง, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดเสมาไชย, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดประตูขาว, ห้วยเขามหาชัย และห้วยปากนาคราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
น้ำสรงพระมุรธาภิเษก
น้ำสรงพระมุรธาภิเษก คือ น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่จะนำมารดเหนือพระเศียร ซึ่งตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์นั้น หมายถึงการยกให้เป็นผู้ใหญ่ โดยน้ำสรงพระมุรธาภิเษกจะนำมาจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 แห่ง และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย ได้แก่
- แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย
+ แม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
+ แม่น้ำป่าสัก ตักที่บริเวณบ้านท่าราบ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
+ แม่น้ำเจ้าพระยา ตักบริเวณปากคลองบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
+ แม่น้ำราชบุรี ตักบริเวณสามแยกคลองหน้าวัดดาวดึงษ์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
+ แม่น้ำเพชรบุรี ตักบริเวณท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
- สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 สระ จังหวัดสุพรรณบุรี
+ สระเกษ
+ สระแก้ว
+ สระคงคา
+ สระยมนา
ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ phralan.in.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
phralan.in.th, thaigov.go.th, เฟซบุ๊ก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ถือว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่และทรงคุณค่าต่อปวงชนชาวไทยในปีนี้ ด้วยเป็นพระราชพิธีสำคัญที่จะสถาปนาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 ของแผ่นดินสยามโดยสมบูรณ์ ซึ่งหนึ่งในสิ่งสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็คือ การทรงรับน้ำอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ โดยน้ำอภิเษกนี้จะต้องนำมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย พร้อมทั้งยังมีน้ำสรงพระมุรธาภิเษกที่มาจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 สระ และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 สายของไทยด้วย โดยกระทรวงมหาดไทยได้เปิดเผยรายชื่อของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ สระสักดิ์สิทธิ์ และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์มาแล้ว มีรายชื่อดังต่อไปนี้

คือ น้ำที่จะนำมารดที่พระหัตถ์ เพื่อเป็นการยอมรับผู้ที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ตามพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งนำมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมจำนวน 108 แหล่งน้ำ แบ่งเป็น
1. กรุงเทพมหานคร ณ หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง
2. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 1 แห่ง 60 จังหวัด ได้แก่
+ วังเทวดา จังหวัดกระบี่
+ บ่อสามแสน จังหวัดกำแพงเพชร
+ ดอยขะม้อ บ่อน้ำทิพย์ จังหวัดลำพูน
+ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระอุโบสถวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
+ บ่อน้ำทิพย์ จังหวัดเชียงราย
+ น้ำภายในพระเศียรหลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์ และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
+ น้ำจากถ้ำเพียงดิน จังหวัดเลย
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดกวิศรารามราชวรวิหาร จังหวัดลพบุรี
+ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี
+ สระสองห้อง จังหวัดพิษณุโลก
+ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
+ แม่น้ำน่าน บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือบ่อน้ำเลี้ยงพระนางจามเทวี จังหวัดลำปาง
+ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดธรรมามูลวรวิหาร จังหวัดชัยนาท
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดสวนตาล จังหวัดน่าน
+ บ่อน้ำทิพย์ จังหวัดอุตรดิตถ์
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดไชยธาราราม จังหวัดภูเก็ต
+ บ่อน้ำพุร้อนทุ่งนุ้ย จังหวัดสตูล
+ แม่น้ำตรัง บริเวณหน้าท่าน้ำวัดประสิทธิชัย จังหวัดตรัง
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดแหลมบ่อท่อ จังหวัดสงขลา
+ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์พระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
+ สระแก้ว สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดยะลา
+ ปากน้ำโจ้โล้ จังหวัดฉะเชิงเทรา
+ สระแก้ว-สระขวัญ จังหวัดสระแก้ว
+ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
+ สระโบราณ โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
+ บ่อน้ำโจ้ก จังหวัดอุบลราชธานี
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ปราสาทสระกำแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
+ สระน้ำจันทร์หรือสระบัว จังหวัดนครปฐม
+ สระโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี
+ กุดน้ำกิน จังหวัดกาฬสินธุ์
+ สระมุจลินท์ หรือสระพญานาค จังหวัดหนองคาย
+ ท่าคำทอง จังหวัดยโสธร
+ ต้นน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (บาราย) วัดกู่ประภาชัย จังหวัดขอนแก่น
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี
+ แม่น้ำป่าสัก บริเวณบ้านท่าราบ จังหวัดสระบุรี
+ น้ำตกศักดิ์สิทธิ์ เขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน น้ำตกแก้งช้างเนียม จังหวัดมุกดาหาร
+ สระน้ำมูรธาภิเษก หรือบ่อน้ำพระอินทร์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม
+ อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ภูน้ำลอด จังหวัดสกลนคร
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือหนองดูน จังหวัดมหาสารคาม
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดศรีคูณเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
+ สระชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด
+ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี
+ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าองค์พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
+ สระเจ้าคุณเฒ่า จังหวัดชลบุรี
+ น้ำตกธารมะยม จังหวัดตราด
+ วัดสามพญา จังหวัดระยอง
+ สามประสบ จังหวัดกาญจนบุรี
+ อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
+ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จังหวัดนนทบุรี
+ ถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
+ บ่อน้ำทิพย์ถ้ำเขาพลู จังหวัดชุมพร
+ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ถ้ำเขาม้าร้อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
+ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์คลองดาวดึงษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม
+ บ่อน้ำสักดิ์สิทธิ์ ถ้ำน้ำผุด จังหวัดพังงา
+ แหล่งน้ำคลองดำเนินสะดวก จังหวัดสมุทรสาคร
+ ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ จังหวัดเพชรบุรี

3. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2 แห่ง 7 จังหวัด
+ สระแก้ว และสระขวัญ จังหวัดเพชรบูรณ์
+ ขุนน้ำแม่ปืม และน้ำตกคะหรือน้ำคะ จังหวัดพะเยา
+ น้ำแบ่ง และน้ำตกสิรินธร จังหวัดนราธิวาส
+ บ่อน้ำหน้าโบราณสถานรอยพระพุทธบาทคู่ และโบราณสถานสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
+ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ถ้ำพระ จังหวัดบึงกาฬ
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดไพรีพินาศ และชีผุด แม่น้ำชี จังหวัดชัยภูมิ
+ แม่น้ำสะแกกรัง และสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม จังหวัดอุทัยธานี

ภาพจาก Suchart Boonyavech / Shutterstock.com
4. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 3 แห่ง 5 จังหวัด
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดบุพพาราม, อ่างกาหลวง และขุนน้ำแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
+ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดดอนศาลา, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พระบรมธาตุเขียนบางแก้ว และถ้ำน้ำบนหุบเขาชัยบุรี จังหวัดพัทลุง
+ เขื่อนขุนด่านปราการชล, บ่อน้ำทิพย์ เมืองโบราณดงละคร และบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก
+ สระแก้ว, ธารนารายณ์ และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดพลับ จังหวัดจันทบุรี
+ บ่อแก้ว, บ่อทอง และตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย
5. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 4 แห่ง 3 จังหวัด
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ลำน้ำแม่คำมี, บ่อน้ำวัดบ้านนันทาราม, บ่อน้ำพระฤาษี และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดพระหลวง จังหวัดแพร่
+ บ่อทอง หรือบ่อช่างขุด, บ่อไชย, น้ำบ่อฤษี และน้ำสระวังพลายบัว จังหวัดปัตตานี
+ สระแก้ว สระคา สระเกษ และสระยมนา จังหวัดสุพรรณบุรี
6. จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 6 แหล่งน้ำ 1 จังหวัด
+ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดหน้าพระลาน, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดเสมาเมือง, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดเสมาไชย, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดประตูขาว, ห้วยเขามหาชัย และห้วยปากนาคราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
น้ำสรงพระมุรธาภิเษก
น้ำสรงพระมุรธาภิเษก คือ น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่จะนำมารดเหนือพระเศียร ซึ่งตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์นั้น หมายถึงการยกให้เป็นผู้ใหญ่ โดยน้ำสรงพระมุรธาภิเษกจะนำมาจากสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 แห่ง และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย ได้แก่
- แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 5 สาย
+ แม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
+ แม่น้ำป่าสัก ตักที่บริเวณบ้านท่าราบ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
+ แม่น้ำเจ้าพระยา ตักบริเวณปากคลองบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
+ แม่น้ำราชบุรี ตักบริเวณสามแยกคลองหน้าวัดดาวดึงษ์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
+ แม่น้ำเพชรบุรี ตักบริเวณท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
- สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ 4 สระ จังหวัดสุพรรณบุรี
+ สระเกษ
+ สระแก้ว
+ สระคงคา
+ สระยมนา
ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ phralan.in.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
phralan.in.th, thaigov.go.th, เฟซบุ๊ก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒