พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระปรมาภิไธย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระปรมาภิไธย อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-เจ้า-อยู่-หัว-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-บอ-ดิน-ทระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน
ภาษาอังกฤษว่า “His Majesty King Maha Vajiralongkorn Bodindradebayavarangkun”
ตราพระปรมาภิไธย
ภาพประกอบจากนิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม
(คัดลอกจาก Seventeen Thailand)
ตราพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล จากกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
วันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ซึ่งมีการออกแบบเช่นเดียวกับ ตราพระปรมาภิไธยของ
พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ประกอบด้วย
พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
องค์พระปฐมบรมมหากษัตริย์ในพระบรมมหาราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเป็นราชศิราภรณ์ หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สำหรับสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แสดงถึงการเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ที่ได้รับการกราบบังคมทูลถวาย เมื่อเสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ
ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๙ ชั้น) ตามแบบอย่างโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา อันแสดงถึงพระบรมเดชานุภาพ แผ่กระจายไปไกลทั่วทุกหนแห่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน
เลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ ๑๐
ว.ป.ร. ย่อมาจาก “วชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช” อักษรพระปรมาภิไธย
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”
ว. สีขาวนวล แสดงถึง วันพระราชสมภพ (วันจันทร์ นับตามคติมหาทักษา)
ป. สีเหลือง แสดงถึง วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ร. สีฟ้า แสดงถึง วันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร