ภาพประวัติศาสตร์ สมัย ร.6 - ร.7 เสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางบก-ทางน้ำ
เปิดภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย สมัยรัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ เลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตรา ทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค พระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติยศ ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นโดยสมบูรณ์
ภาพจาก m-culture.go.th
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย
สายสะพายจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง
และทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ประทับพระราชยานพุดตานทอง
เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราสถลมารค อย่างยิ่งใหญ่
สง่างามสมพระเกียรติ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้อธิบายความเป็นมาของการเสด็จฯ เลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค (ทางบก) กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ทางน้ำ) ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลายที่สำคัญ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศว่าเป็นพระราชาธิบดี หรือพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นโดยสมบูรณ์ แสดงให้เห็นถึงการยอมรับจากประชาชน และนานาอารยประเทศ ทั้งยังเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวของคนในชาติอีกด้วย
โดยพระราชพิธีดังกล่าวของแต่ละรัชกาล มีรายละเอียดแตกต่างกัน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 ได้เสด็จฯ เลียบพระนคร เฉพาะกระบวนพยุหยาตราสถลมารค (ทางบก) ส่วนการเลียบพระนครทางน้ำนั้น เริ่มในครั้งรัชกาลที่ 4 ส่วนรัชกาลที่ 5 มีแต่ทางสถลมารค และรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินจากพลับพลาเปลื้องเครื่อง
ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
ในขบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารคเลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
วันที่ 3 ธันวาคม 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเลียบพระนคร
เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งลำทรง
โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
วันที่ 3 ธันวาคม 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเลียบพระนคร เสด็จขึ้นท่าฉนวน วัดอรุณราชวราราม
รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง
เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเลียบพระนคร
มาทางถนนพระสุเมรุ วันที่ 1 มีนาคม 2468
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง
เสด็จพระราชดำเนินถึงเกยพลับพลาเปลื้องเครื่อง หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระที่นั่งราชยานถมตะทอง
เสด็จพระราชดำเนินจากท่าเทียบเรือหน้าวัดอรุณราชวราราม ไปยังพระอุโบสถ
วันที่ 3 มีนาคม 2468
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม วันที่ 3 มีนาคม 2468
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินประทับพระที่นั่งบุษบก ในเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ณ
ท่าวัดอรุณราชวราราม วันที่ 3 มีนาคม 2468
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นจากเรือพลับพลาที่ท่าราชวรดิฐ ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากวัดอรุณราชวราราม ในการเสด็จโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเลียบพระนคร วันที่ 3 มีนาคม 2468
ภาพจาก m-culture.go.th
ทั้งนี้ เว็บไซต์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้อธิบายความเป็นมาของการเสด็จฯ เลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค (ทางบก) กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ทางน้ำ) ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลายที่สำคัญ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศว่าเป็นพระราชาธิบดี หรือพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นโดยสมบูรณ์ แสดงให้เห็นถึงการยอมรับจากประชาชน และนานาอารยประเทศ ทั้งยังเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวของคนในชาติอีกด้วย
โดยพระราชพิธีดังกล่าวของแต่ละรัชกาล มีรายละเอียดแตกต่างกัน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 ได้เสด็จฯ เลียบพระนคร เฉพาะกระบวนพยุหยาตราสถลมารค (ทางบก) ส่วนการเลียบพระนครทางน้ำนั้น เริ่มในครั้งรัชกาลที่ 4 ส่วนรัชกาลที่ 5 มีแต่ทางสถลมารค และรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค
รัชกาลที่ 6
รัชกาลที่ 7